
ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต |
![]() |
![]() |
![]() |
เขียนโดย Administrator |
วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม 2008 เวลา 01:10 น. |
วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
๑. การสังเคราะห์งานวิจัยเรื่อง ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2552 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม ๒.ความสำคัญของปัญหา คุณภาพบัณฑิต เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาระบบการศึกษาไทย โดยเฉพาะการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ที่ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกสู่สังคม วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคามทำหน้าที่บัณฑิตพยาบาล ให้มีความรู้ความสามารถเชิงวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม ยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความใฝ่รู้และเรียนรู้ตลอดชีวิต มีความเข้าใจธรรมชาติตนเอง ผู้อื่น และสังคม สามารถบูรณาการความรู้ทางการพยาบาล และศาสตร์อื่นๆไปใช้ปฏิบัติงานในระบบสุขภาพ และตอบสนองความต้องการของประชาชน ตระหนักในคุณค่าศิลปะและวัฒนธรรม สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิต และดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข การวิจัยครั้งนี้มีประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ค้นหาวิธีการสอนใหม่ ๆ ที่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและมีศักยภาพออกสู่สังคมได้ การสังเคราะห์วิจัยครั้งนี้ มุ่งสังเคราะห์ในประเด็นข้อค้นพบจากผลงานวิจัยเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ ๓.วัตถุประสงค์ของการสังเคราะห์งานวิจัย เป้าหมายของการสังเคราะห์งานวิจัยในครั้งนี้ มุ่งที่จะค้นหาจุดอ่อนและจุดแข็งของงานวิจัย ตลอดจนแนวทางการพัฒนา เพื่อให้วิทยาลัยสามารถใช้ประโยชน์จากงานวิจัยครั้งนี้ได้สอดคล้องกับภารกิจ ดังนั้นจึงกำหนดวัตถุประสงค์ของการสังเคราะห์งานวิจัยไว้ดังนี้ ๓.๑ เพื่อค้นหาข้อค้นพบใหม่ ๓.๒ เพื่อค้นหาจุดอ่อน จุดแข็ง และแนวทางการจัดการเรียนสอนในปีต่อไป ๔. กระบวนการสังเคราะห์งานวิจัย การสังเคราะห์งานวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ๔.๑ ทบทวนงานวิจัย ๑ เรื่อง คือศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2552 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม ผู้วิจัยคือ ๑.อาจารย์อรุณี อูปแก้ว ๒.อาจารย์ประภัสสร วงษ์ศรี ๓. อาจารย์ภควรรณ สมบูรณ์๔.อาจารย์สุภาพร ประนัดทา เป็นการวิจัยที่สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนสอนในปีต่อไป ๔.๒ สังเคราะห์งานวิจัยถึงจุดอ่อน จุดแข็ง และข้อค้นพบ โดยมีประเด็นที่สนใจคือ ระเบียบวิธีวิจัย ข้อค้นพบเดิม ข้อค้นพบใหม่และประโยชน์จากการวิจัย ๔.๓ ข้อค้นพบจากการสังเคราะห์งานวิจัย ๔.๓.๑ จุดอ่อน จุดแข็ง และแนวทางการพัฒนา จุดอ่อน คือเป็นการวิจัยที่รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และผู้ตอบแบบสอบถามคือผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต จุดแข็ง คือเป็นการประเมินศักยภาพบัณฑิตในการปฏิบัติงานจริง ซึ่งสามารถสะท้อนคุณภาพบัณฑิต หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนของสถาบัน ๔.๓.๒ ข้อค้นพบใหม่ จากการสังเคราะห์งานวิจัยครั้งนี้พบว่ามีทักษะแก้ปัญหาด้วยตนเอง การประยุกต์ความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน ความยืดหยุ่นในการทำงานในวิชาชีพยังไม่เพียงพอ สะท้อนให้เห็นว่าผู้เรียนมีประสบการณ์ในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาด้วยตนเองยังไม่เพียงพอ รวมทั้งการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
๕.ประโยชน์ที่ได้จากการสังเคราะห์งานวิจัย จากการสังเคราะห์งานวิจัย ได้ข้อค้นพบใหม่จากการสังเคราะห์งานวิจัยที่เป็นประโยชน์ ดังนี้ ๕.๑ กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์ ได้แก่ ๕.๑.๑ รองผู้อำนวยการกลุ่มวิชาการ สามารถนำมาใช้ในการวางแผนการพัฒนาหลักสูตร พัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอน และวางแผนการจัดการเรียนการสอน ๕.๑.๒ รองผู้อำนวยการกลุ่มกิจการนักศึกษา สามารถนำมาใช้ในการวางแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์บัณฑิตคือการให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ๕.๑.๓ ผู้บริหารหรือกลุ่มการพยาบาลหน่วยงานต้นสังกัดของบัณฑิต สามารถนำผลการวิจัยนี้ไปวางแผนพัฒนาคุณภาพบัณฑิต ให้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพผู้รับบริการพึงพอใจ ๕.๒ประเด็นการวิจัยครั้งต่อไป คณะผู้สังเคราะห์งานวิจัยเห็นว่าเป็นการวิจัยที่รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้บังคับบัญชาของบัณฑิตกลุ่มเดียว ควรมีการรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มอื่นด้วย เช่น เพื่อนร่วมงานและผู้รับบริการเป็นต้น รวมทั้งควรมีการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่ม
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 05 กรกฏาคม 2012 เวลา 20:38 น. |